4 การจัดจตุสตมภ์

การเริ่มต้นใช้จตุสดมภ์ของระบบการทำนายโชคชะตานั้น เราต้องแปลงข้อมูลการเกิดประจำตัว ได้แก่ ปี เดือน วัน และ เวลาที่เกิดให้มาอยู่ในรูปแบบจตุสดมภ์ การทำเช่นนี้เราจำเป็นที่จะต้องน้ำ "ปฏิทินหนึ่งหมื่นปี" มาใช้เป็นตำราสำคัญในการอ้างอิง

 

"ปฏิทินหนึ่งหมื่นปี" คือ หนังสือที่ประกอบด้วยปฏิทินในระบบต่าง1 โดยทั่วไปมักครอบคลุมช่วงเวลาประมาณ 250 ปี แบบที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันนี้เป็นแบบที่ครอบคลุมช่วงปีตั้งแต่ปี 1900 (2443) ถึงปี 2050 (2593) ซึ่งถือว่าเพียงพอแล้ว สำหรับใช้หาข้อมูลการเกิดของคนในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม หากเราต้องการค้นหาจตุสดมภ์ของบุคคลที่อยู่นอกขอบข่ายนี้ อย่างเช่น ลีโอนาโด ดา วินชี, นโปเลียน โบนาปาร์ต เราจะต้องทาปฏิทินฉบับอื่นซึ่งก็มีอยู่แต่หาไม่ได้ง่ายนัก

 

ปฏิทินหนึ่งหมื่นปีครอบคลุมปฏิทินสามระบบในหนึ่งตารางซึ่งประกอบด้วยปฏิทินตะวันตก ปฏิทินจันทรคติของจีน และ ปฏิทินเซี่ย สำหรับจตุสตมภ์แห่งโชคชะต เราจะใช้หนังสือเล่มนี้ในการแปลงข้อมูลการเกิดจากปฏิทินตะวันตกเป็นปฏิทินเซี่ย ซึ่งเป็นรูปแบบของกิ่งสวรรค์และก้านดิน โดยแต่ละปีจะพิมพ์อยู่บนสองหน้าหนังสือ หน้าแรกเป็นหกเดือนแรกของปี และ หน้าที่สองเป็นหกเดือนหลังของปี ลองมาดูที่ตัวอย่างหนึ่ง

 

ผู้ชายคนหนึ่งเกิดวันที่ 6 กรกฎาคม 1946 (2489) ในตอนเข้าเวลาประมาณ 7.08 นาฬิกา หากเราต้องการแปลงวันเกิดนี้ ให้เป็นจตุสดมภ์ เราสามารถทำได้เป็นขั้น ๆ โดยดูจากปฏิทินหนึ่งหมี่นปี ขั้นแรกให้ทาปี ซึ่งหาได้ไม่ยากเพราะปฏิทินเรียง ตามลำตับปีโดยเริ่มตั้งแต่ปี 1900 (2443) เราเพียงแค่พลิกหาหน้าที่ตรงกับปี 1946 (2489) กิ่งสวรรค์และก้านดินของปีนี้ จะเน้นเป็นตัวหนาอยู่ในช่อง ซึ่งเป็นปีธาตุไฟหยางบนนักษัตรจอเช่นเดียวกับปี 2006 (2549)

ปี 1946 (2489) = ไฟหยาง บนนักษัตรจอ

 

ปฏิทินหมื่นปี

 

ขั้นที่สองคือหาวันที่ 6 กรกฎาคมในปีนั้นๆ ส่วนนี้จะเป็นปฏิทินตะวันตกและเขียนไว้เป็นหมายเลขพร้อมกับเดือนอยู่ทางด้านซ้าย วันที่จะอยู่ทางด้านขวาแบบนี้ 76 หมายถึงวันที่ 6 กรกฎาคม หลังจากที่เราหาวันนี้พบแล้ว เราจะหากิ่งสวรรค์และก้านดินได้ทันทีท่างด้านขวาของวันที่นี้ ซึ่งเขียนเอาไว้ว่า 巳辛  (มะเส็ง โลหะหยิน) ตัวอักษรทั้งสองตัวพิมพ์อยู่ในแนวขนานเพื่อให้เข้ากับขนาดของหนังสือ แต่เวลาเขียนออกมาจะต้องเขียนเป็นแนวตั้งโดยให้กึ่งสวรรค์อยู่บนก้านดินเสมอ ในกรณีนี้จะต้องเขียนว่าโลหะหยิน มะเส็ง ตัวอักษรทางด้านขวาคือกึ่งสวรรค์และต้องวางไว้ด้านบน

 

 โลหะหยิน บนนักษัตรมะเส็ง

 

 

ขั้นที่สามคือให้หาเดือน เดือนอยู่ด้านบนของตารางตรงแถวตามแนวตั้งที่เราหาวันที่ 6 กรกฎาคม โดยอยู่ในแถวที่สองตามแนวนอน ซึ่งเขียนไว้ตามแนวนอนเช่นกันเพื่อให้เข้ากับขนาดของหนังสือเป็น 午甲  (มะเมีย ไม้หยาง) และอีกครั้งเมื่อเราเขียนลงมาก็ต้องนำมาทำให้เป็นแนวตั้ง ตัวอักษรด้านขวาคือกิ่งสวรรค์และต้องวางไว้ข้างบน ดังนั้นเดือนกรกฎาคม 1946 (2489) จึงเป็นธาตุไม้หยางบนนักษัตรมะเมีย

 

กรกฎาคม = ไม้หยาง บนนักษัตรมะเมีย

 

ตรงจุดนี้อาจดูเหมือนง่ายแต่ส่วนที่ยากที่สุดคือการหาเดือนที่ถูกต้อง ความซับซ้อนเกี่ยวกับปฏิทินหนึ่งหมื่นปีคือแถวเดือนจะจัดไว้ตามเดือนในปฏิทินจันทรคติ ไม่ใช่ปฏิทินเซี่ยที่เราใช้กันอยู่ เดือนในปฏิทินเซี่ยไม่ได้แสดงไว้ในรูปของแถวแนวตั้ง แต่จะถูกเน้นไว้ในช่องสีดำ ซึ่งหมายความว่าวันเริ่มต้นเดือนของปฏิทินเซี่ยจะเน้นไว้ด้วยสีดำในปฏิทิน ด้วยเหตุนี้เดือนเดือนหนึ่งในปฏิทินเซี่ยจึงไม่ใช่แถว แต่เป็นสัดส่วนของวันที่อยู่ในช่วงระหว่างช่องสีดำสองช่องในปฏิทิน ยกตัวอย่าง

 

เช่น วันที่ 6 กรกฎาคม 1946 (2489) ตกอยู่ในเดือนที่อยู่ระหว่างช่องดำสองช่องคือ 6 มิถุนายน และ 8 กรกฎาคม

ฉะนั้นวันที่ตกอยู่ภายในสัดส่วนนี้จึงอยู่ในเดือนเดียวกันซึ่งก็คือ ไม้หยาง บนนักษัตรมะเมีย

 

อีกประเด็นที่ต้องจดจำคือในกรณีที่วันเกิดตรงกับช่องสีดำ ยกตัวอย่างเข่น หากบุคคลตนนั้นเกิดในวันที่ 6 มิถุนายน อย่างนี้ ควรจะใช้เดือนใด ทางด้านบนของแต่ละแถวในปฏิทินหนึ่งหมื่นปี เราจะเห็นช่องที่บอกชั่วโมงและนาที นี่คือเวลาที่แน่นอน ซึ่งบอกเวลาที่เดือนในปฏิทินเซี่ยเคลื่อนจากเดือนหนึ่งไปสู่อีกเดือนหนึ่งในช่องวันสีดำ เราลองมาดูที่วันที่ 6 มิถุนายน ตรงด้านบนของแถวแนวตั้ง ซึ่งแสดงให้เราเห็นว่าเป็นเวลา 15 นาฬิกา 49 นาที ซึ่งหมายความว่าเดือนของธาตุไม้หยาง นักษัตรมะเมียที่จริงแล้วเริ่มที่เวลา 15.49 นาฬิกา ในวันที่ 6 มิถุนายน ดังนั้นคนที่เกิดหลังเวลา 15.49 นาฬิกา ในวันที่ 6 มิถุนายน 1946 (2489) จะต้องเดือนธาตุไม้หยาง นักษัตรมะเมีย แต่หากคนคนนั้นเกิดก่อนเวลา 15.49 น. ของวันที่ 6 มิถุนายน จะต้องใช้เดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งก็คือธาตุน้ำหยิน บนนักษัตรมะเส็ง

 

ดังนั้นตอนนี้เราก็มีสามสดมภ์คือ ปี เดือน และวันแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการหาสดมภ์ยาม

 

ก่อนที่เราจะเรียนรู้วิธีหาสดมภ์ยาม มีข้อสังเกตบางประการที่เราควรรู้ในการพิจารณาเวลาเกิดของเรา นั่นคือข้อมูลเกี่ยวกับเวลาที่เกิดมักจะไม่แม่นยำ ทั้งนี้เพราะมีหลายคนที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองเกิดเวลาอะไร หรือบางทีก็ไม่ค่อยแน่ใจ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากระบบนาฬิกาของจีนมีช่วงเวลาสองชั่วโมง ดังนั้นแม้ว่าเราจะระบุเวลาเกิดคร่าวๆ โดยที่ไม่สามารถใส่รายละเอียดที่เป็นนาทีได้ เวลาของนักษัตรก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

 

นอกจากนี้ข้อดีและความสะดวกของระบบจดุสดมภ์แห่งโชคซะตาก็คือเรายังสามารถทำการวิเคราะห์ดวงชะตาได้ดีแม้ว่าจะไม่รู้สดมภ์ยาม สดมภ์ยามในระบบจตุสดมภ์ก็ของเราโดยหลัก ๆ แล้วจะใช้พูดถึงเรื่องของลูก และหน้าที่การงานของบุคคลในช่วงปลายของชีวิต แน่นอนว่ามันจะดูไม่สมประกอบหากไม่รู้เวลาเกิด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เราวิเคราะห์อะไรไม่ได้หากไม่มีสดมภ์ยาม เพราะถึงจะไม่มีสดมภ์ยาม เราก็ยังคงมีข้อมูลมากมายจากส่วนสดมภ์ปี เดือน และวัน ฉะนั้นสดมภ์ยามจึงมีน้ำหนักเพียงส่วนน้อยเท่านั้นไม่เหมือนกับระบบอื่นๆ อย่างเช่นโหราศาสตร์ดาวม่วงที่หากไม่มีเวลาก็จะไม่สามารถพยากรณ์ได้เลย

 

มีอะไรมากมายที่เป็นเบื้องหลังทางปรัชญาของเวลาที่เกิด ตอนนี้เราลองมาดูวิธีหาสดมภ์ยาม สมมติว่าเราระบุเวลาเกิด

เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในการหาสดมภ์ยาม เราต้องใช้ตารางข้างล่างนี้

 

 

 

 

มาดูที่ตัวอย่างของเรากันอีกครั้ง ผู้ชายที่เกิดวันที่ 6 กรกฎาคม 1946 (2489) คนนี้เกิดเวลาประมาณ 7.08 นาฬิกาในตอนเช้า

ตารางที่แสดงชั่วโมงของจีนถูกแบ่งออกเป็น 12 นักษัตร โดยแต่ละนักษัตรกินช่วงเวลาเท่ากับ 2 ชั่วโมงของตะวันตก จากแถวแรกตามแนวตั้ง เราจะเห็นเวลา 7.08 ตกที่นักษัตรมะโรง แต่ตามแถวแนวนอนยังมีอีก 5 นักษัตรมะโรง โดยต่างมีกิ่งสวรรค์ที่แตกต่างกันอยู่ด้านบน เราควรเลือกเวลาของนักษัตรมะโรงเวลาไหนดี หลักการคือวันที่ต่างกัน เวลาของนักษัตรมะโรงก็จะแตกต่างกัน ดังนั้นในการเลือกเวลามะโรงที่ถูกต้อง เราจะต้องอ้างอิงที่สดมภ์วันของวันที่ 6 กรกฎาคม 1946 (2489) และสดมภ์วันคือโลหะหยินบนนักษัตรมะเส็ง เราไม่จำเป็นต้องสนใจก้านดินของนักษัตรมะเส็ง เราเพียงแต่ดูที่กิ่งสวรรค์ซึ่งก็คือธาตุโลหะหยินเท่านั้น และจากแถวแรกตามแนวนอนของตาราง เราจะเห็นแถวตามแนวตั้งที่แสดงธาตุโลหะหยิน และเมื่อมองไล่ลงมาจากแถวนี้เราจะพบว่าเวลามะโรงคือมะโรงธาตุน้ำหยาง นี่คือยามที่ถูกต้องสำหรับเวลา 7.08 นาฬิกาในวันที่ 6 กรกฎาคม 1946 (2489)

 

ตอนนี้เราสามารถใส่รายการจตุสดมภ์ของบุคคลดังกล่าวดังที่เห็นข้างล่างนี้

 

จตุสดมภ์ของชายที่เกิดเวลา 7.08 นาฬิกา

วันที่ 6 กรกฎาคม 1946 (2489)

 

ก่อนที่เราจะศึกษาในบทต่อไป เราควรมาทำความเข้าใจเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยเกี่ยวกับระบบนักษัตรของจีน เราเห็นแล้วว่าปฏิทินเซี่ยเริ่มต้นปีในเดือนของนักษัตรขาล แต่ระบบนาฬิกาของจีนเริ่มต้นวันด้วยนักษัตรชวด เนื่องจากเวลาของนักษัตรชวดครอบคลุมเวลาระหว่าง 23.00 นาฬิกาถึง 1.00 นาฬิกา เวลาดังกล่าวเป็นช่วงรอยต่อระหว่างสองวัน ดังนั้น ในตารางเราจะเห็นว่าชั่วโมงของนักษัตรชวดจะถูกแสดงแยกเอาไว้เป็นสองส่วน ตั้งแต่เวลา 23.00 ถึง 00.00 นาฬิกาเรียกว่า "ชวดปลาย" เนื่องจากเป็นช่วงยามสุดท้ายของวัน และตั้งแต่เวลา 00.00 ถึง 1.00 นาฬิกาเรียกว่า "ชวดต้น" เพราะเป็นช่วงยามแรกของวันใหม่

 

 

มีเรื่องราวมากมายที่อธิบายสาเหตุว่าทำไมหนูจึงได้เป็นนักษัตรแรกในระบบ 12 นักษัตร เรื่องเล่าหนึ่งมีอยู่ว่า จักรพรรดิแห่งสวรรค์ได้สั่งให้สัตว์ทั้ง 12 นี้แข่งกันข้ามแม่น้ำ ตัวที่มาถึงก่อนจะได้เป็นผู้ชนะและได้เป็นนักษัตรอันดับแรก วัววิ่งได้เร็วและนำตัวอื่น ๆ  ทั้งหมด แต่หนูจอมเจ้าเล่ห์ได้เกาะที่หางของวัว และเมื่อวัวเข้าใกล้จุดหมายแล้ว หนูก็กัดวัว ทำให้วัวเจ็บและสะบัดหางไปข้างหน้า และหนูก็กระโดดนำหน้าวัว ด้วยเหตุนี้หนูจึงได้เป็นนักษัตรแรกนี่เป็นเพียงเทพนิยายเท่านั้น

 

 

แต่เหตุผลที่แท้จริงที่อยู่เบื้องหลังการจัดให้หนูเป็นอันดับแรกนั้นเป็นเรื่องของคุณสมบัติของหนูชั่วโมงของนักษัตรชวดเป็นช่วงที่กำลังจะข้ามจากวันหนึ่งไปยังอีกวันหนึ่ง และเชื่อกันว่าหนูเป็นสัตว์ที่มีความโดดเด่นตรงที่มีทั้งคุณสมบัติหยินและหยาง กล่าวคือมีนิ้ว 4 นิ้วที่ขาหน้า และ 5 นิ้วที่ขาหลัง ดังนั้นครึ่งหนึ่งของหนูจึงเป็นเลขคี่ (หยาง)และอีกครึ่งหนึ่งเป็นเลขคู่ (หยิน) ด้วยเหตุนี้หนูจึงเป็นสัตว์ที่เหมาะสมที่สุดที่จะเป็นตัวแทนข่วงต่อระหว่างวันหนึ่งกับอีกวันหนึ่ง

 

ตอนนี้เรามาดูจตุสดมภ์ของชะตากรรมในประวัติศาสตร์มนุษย์ ในวันที่ 11 กันยายน 2001 (2541) เวลา 8.45 นาฬิกาตาม เวลาในนิวยอร์ค โดยเราสามารถใช้ขั้นตอนต่างๆ ข้างต้นมาทำเป็นรายการของจตุสดมภ์ตามตารางข้างล่างนี้

 

 

ในจตุสตมภ์ข้างบนนี้ เราจะเห็นว่ามีธาตุไฟหยินอยู่สองตำแหน่งแสดงอยู่บนสดมภ์เดือนและสดมภ์วัน ธาตุไฟหยางเป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ ธาตุไฟหยินเป็นสัญลักษณ์ของแสงเทียน ซึ่งเป็นไฟที่ไม่แน่นอนและอันตราย ดังนั้นธาตุไฟหยินจึงมีความเกี่ยวพันกับอารมณ์โกรธ การระเบิด และอัคคีภัย ตัวอักษรจีนของธาตุไฟหยินจะดูเหมือนอักษร T และตัว "T" นี้ ดูเหมือนรูปทรงของควันดอกเห็ดที่เกิดจากการระเบิดครั้งใหญ่  หากสังเกตจะพบว่าการระเบิดรุนแรงแบบนั้นและมหันตภัยจากไฟมักจะเกิดขึ้นในวันธาตุไฟหยิน "ที เดย์" (T day) เช่นนี้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือวันที่ 6 สิงหาคม 1945 (2488) เมื่อระเบิดปรมาณูลูกแรกถล่มเมืองฮิโรชิม่านี้ก็เป็นวัน "ที เดย์" ซึ่งเป็นวันธาตุไฟหยิน

 

วันที่ 11 กันยายน 2001 (2541) ปฏิทินจีนแสดงให้เห็น T สองตัว ดังนั้นจึงไม่ใช่เป็นแค่เทียนหนึ่งเล่มเท่านั้นแต่มีถึงสองเล่ม ซึ่งเป็นภาพของอาคารทั้งสองของเวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์ในนิวยอร์คไม่ผิดเพี้ยน อาคารที่ยาวและสูงชะลูดโดยมีไฟอยู่ข้างบนเหมือนกับเทียนสองเล่มที่จุดอยู่ เครื่องบินลำแรกพุ่งชนเข้าไปในนอร์ธทาวเวอร์ เมื่อเวลา 8.45 นาฬิกา ซึ่งเป็นชั่วโมงธาตุไม้ และไม้ก็เหมือนกับไม้ขีดที่ทำให้ธาตุไฟหยินทั้งสองลุกไหม้

 

 

ในสดมภ์ปี มีธาตุโลหะปรากฏอยู่ นักษัตรที่เราเห็นที่ส่วนก้านดินด้านล่างคือ มะเส็ง ระกา และฉลู ในจตุสดมภ์แห่งโชคชะตา นักษัตรทั้ง 12 จะมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในหลายรูปแบบ มะเส็ง ระกา และฉลูอยู่ในวงศ์ของธาตุโลหะ และสามารถรามกันเป็นโลหะที่ครบองค์รวม ดังนั้นภาพที่ได้คือโลหะที่ปรากฎขึ้นและยังมีโลหะและดินจำนวนมากอยู่ด้านล่าง ธาตุโลหะที่แข็งแกร่งเช่นนี้ทำอะไรกับอาคารแฝดหลังนี้  มีรายงานว่าอาคารทั้งสองที่จริงแล้วสร้างด้วยโครงสร้างที่เป็นโลหะจำนวนมาก

 

ความร้อนจากด้านบนลงมาสู่ด้านล่างได้อย่างรวดเร็ว ทำให้โลหะผิดรูปและหลอมละลาย การออกแบบที่เป็นโครงสร้างโลหะเช่นนี้ถือว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้อาคารพังทลายลงมาทั้งหลังอย่างรวดเร็วหลังจากถูกโจมตี เรื่องนี้บ่งชี้ไว้อย่างแม่นยำในจตุสดมภ์ของวันที่ 11 กันยายน 2001 (2544) ธาตุโลหะปรากฏอยู่บนนักษัตรมะเส็ง ลักษณะนี้สื่อถึงการนำความร้อนจากไฟที่อยู่บนยอดเทียนไขลงมาสู่เบื้องล่าง ส่งผลให้เกิดการพลังทลายของอาคารทั้งสองพร้อมกับมีดินและโลหะกองสุมอยู่บนพื้น

 

Visitors: 165,328